วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียน เมื่อวันพุธที่ 27 สิงหาคม 2008 ส่งเรื่อง SDH และสายใยแก้วนำแสง

เครือข่ายความเร็วสูง
SDH ย่อมาจาก Synchronous Digital Heirarchy SDH เป็นคำศัพท์ที่มีความหมาย
ถึงการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูง ซึ่งโดยปกติใช้
สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายในเป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม
และมีการซิงค์บอกตำแหน่ง เริ่มต้นเฟรมเพื่อให้อุปกรณ์รับตรวจสอบสัญญาณ
ข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น
และจัดรวมกันเป็นลำดับ เพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้วนำแสง ความเป็น
มาของ SDH มีมายาวนานแล้ว เริ่มจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์
ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล โดยช่องสัญญาณเสียงหนึ่งช่อง
ใช้สัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิต แต่ในอดีตการจัดมาตรฐานลำดับชั้นของ
เครือข่ายสัญญาณเสียงยังแตกต่างกัน เช่นในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณ
เสียง 24 ช่อง เป็น 1.54 เมกะบิต หรือที่เรารู้จักกันในนาม T1 และระดับต่อไปเป็น
63.1, 447.3 เมกะบิต แต่ทางกลุ่มยุโรปใช้ 64 กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง และจัด
กลุ่มต่อไปเป็น 32 ช่องเสียงคือ 2.048 เมกะบิต ที่รู้จักกันในนาม E1 และจัดกลุ่ม
ใหญ่ขึ้นเป็น 8.44, 34.36 เมกะบิต
การวางมาตรฐานใหม่สำหรับเครือข่ายความเร็วสูงจะต้องรองรับการใช้งานต่าง ๆ
ทั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณมัลติมีเดียอื่น ๆ เช่น สัญญาณโทรทัศน์
ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้ คณะกรรมการจัดการมาตร
ฐาน SDH จึงรวมแนวทางต่าง ๆ ในลักษณะให้ยอมรับกันได้ โดยที่สหรัฐอเมริกา
เรียกว่า SONET ดังนั้นจึงอาจรวมเรียกว่า SDH/SONET การเน้น SDH/SONET
ให้เป็นกลางที่ทำให้เครือข่ายประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ วิ่งลงตัวได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากโครงข่ายของ SDH/SONET ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยวางแถบ
กว้าง พื้นฐานระดับต่ำสุดไว้ที่ 51.84 เมกะบิต โดยที่ภายในแถบกว้างนี้จะเป็นเฟรม
ข้อมูลที่สามารถนำช่องสัญญาณเสียงโทรศัพท์ หรือการประยุกต์อื่นใดเข้าไปรวมได้
และยังรวมระดับช่องสัญญาณต่ำสุด 51.84 เมกะบิตนี้ให้สูงขึ้น เช่นถ้าเพิ่มเป็นสาม
เท่าของ 51.84 ก็จะได้ 155.52 ซึ่งเป็นแถบกว้างของเครือข่าย ATM
โมเดลของ SDH แบ่งออกเป็นสี่ชั้น เพื่อให้มีการออกแบบและประยุกต์เชื่อมต่อ
ได้ตามมาตรฐานหลัก
ชั้นแรกเรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง
และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง
ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับ
กัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวม
ถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่
ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า ซิงโครนัส
ชั้นที่สามเป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์
และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออก
จากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย
ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้าน
หนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไป
ยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้
เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อ
สารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับ
ส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM – Synchronous
Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนด
หัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เมกะ
บิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที จะเห็นว่า STM ระดับแรกมี
ความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84
เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ผู้ออกแบบมาตรฐาน SDH ต้องการให้เป็นทางด่วนข้อมูล
ข่าวสาร ที่จะรองรับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอัตราการส่งสัญญาณกันเป็น T1, T3,
หรือ E1, E3 ขณะเดียวกันก็รองรับเครือข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode)
ที่ใช้ความเร็วตามมาตรฐาน STM ดังที่กล่าวแล้ว โดยที่ SDH สามารถเป็นเส้นทางให้กับ
เครือข่าย ATM ได้หลาย ๆ ช่องของ ATM ในขณะเดียวกัน
SDH จึงเสมือนถนนของข้อมูลที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเพื่อรองรับแถบกว้างของ
สัญญาณสูง ขณะเดียวกันก็ใช้งานโดยการรวมสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาร่วมใช้
ทางวิ่งเดียวกันได้ SDH จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสมือนหนึ่งเป็นถนนเชื่อมโยง
ที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนเหล่านี้จะเป็นทางด่วนที่รองรับการประยุกต์
ใช้งานในอนาคต SDH หรือทางด่วนข้อมูล จะเกิดได้หรือไม่ คงต้องคอยดูกันต่อไป
















เอกสารอ้างอิง :
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/sdh.htm


สายใยแก้วนำแสง
สาย สัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันมี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่
ช้ประเภทแรกคือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ
(Conductive Metal) เช่น สายคู่บิดเกลียว (Twisted
Pairs) และสายโคแอ็กซ์ (Coaxial Cable) ซึ่งปัญหา
ของสายที่มีตัวนำเป็นโลหะนั้นก็คือ สัญญาณที่วิ่งอยู่
ภายในสายนั้น อาจจะถูกรบกวนได้โดยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าแหล่งต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟ
ฟ้าต่าง ๆ ที่ผลิตสนามแม่เหล็ก หรือแม้กระทั่งปรากฏ
การณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า เป็นต้น และการเดินสาย
เป็นระยะทางไกลมาก ๆ เช่น ระหว่างประเทศจะมีการ
สูญเสียของสัญญาณเกิดขึ้น จึงต้องใช้อุปกรณ์สำหรับ
ทวนสัญญาณติดเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีการ
คิดค้นและพัฒนาสายสัญญาณแบบใหม่ ซึ่งใช้ตัวนำซึ่ง
ไม่ได้เป็นโลหะขึ้นมาก็คือ สายใยแก้วนำแสง (Fiber
Optic) ซึ่งใช้สัญญาณแสงในการส่งสัญญาณไฟฟ้า
ทำให้การส่งสัญญาณไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย
และตัวกลางที่ใช้สำหรับการส่งสัญญาณแสงก็คือ
ใยแก้วซึ่งมีขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่
ไปได้มาก สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลโดยมีการ
สูญเสียของสัญญาณน้อย ทั้งยังให้อัตราข้อมูล
(Bandwidth) ที่สูงยิ่งกว่าสายแบบโลหะหลายเท่าตัว


โครงสร้างของใยแก้วนำแสง
ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วย
ส่วนสำคัญคือ ส่วนที่เป็นแกน (Core) ซึ่งจะอยู่ตรง
กลางหรือชั้นในแล้วหุ้มด้วยส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
แล้วถูกห่อหุ้มด้วยส่วนป้องกัน (Coating) อีกชั้นหนึ่ง
โดยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วยวัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของ
แสงต่าง กัน ทั้งนี้ก็เพราะต้องคำนึงถึงหลักการหักเห
และสะท้อนกลับห
มดของแสง ส่วนที่เหลือก็จะเป็น
ส่วนที่ช่วยในการติดตั้งสายสัญญาณได้ง่ายขึ้น เช่น
Strengthening Fiber ก็เป็นส่วนที่ป้องกันไม่ให้สาย
ไฟเบอร์ขาดเมื่อมีการดึงสายในตอนติดตั้งสาย สัญญาณ











แกน (Core)

เป็นส่วนกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วน
นำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าส่วน
ของแคลด ลำแสงที่ผ่านไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อน
ที่ไปตามแกนของเส้นใยแก้วนำแสงด้วย กระบวนการ
สะท้อนกลับหมดภายใน

ส่วนห่อหุ้ม (Cladding)
เป็นส่วนที่ห่อหุ้มส่วนของแกนเอาไว้ โดยส่วนนี้จะมีดัชนี
หักเหน้อยกว่าส่วนของแกน เพื่อให้แสงที่เดินทางภายใน
สะท้อนอยู่ภายในแกนตามกฎของการสะท้อนด้วยการสะท้อน
กลับหมด โดยใช้หลักของมุมวิกฤติ
ส่วนป้องกัน (Coating/Buffer)
เป็น ชั้นที่ต่อจากแคลดที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้น
ใยแก้วนำแสงและยังใช้ประโยชน์ เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใย
แก้วนำแสง โครงสร้างอาจจะประกอบไปด้วยชั้นของพลาส
ติกหลาย ๆ ชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัว
ป้องกันจากแรงกระทำภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนี
หักเห เช่น แกนมีค่าดัชนีหักเหประมาณ 1.48 ส่วนขอแคลด
และส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนไปภายนอก
และป้องกัน แสงภายนอกรบกวน จะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46
และ 1.52 ตามลำดับ
เอกสารอ้างอิง
http://www.thaiinternetwork.com/chapter/detail.php?id=0043

ข้อสอบ
1. Synchronous Digital Heirarchy ข้อใดถูกต้อง
ก. SDH *
ข. ข. DSH
ค. ค.SDE
ง. ง.ถูกทุกข้อ
2. Synchronous Digital Heirarchy หมายถึงข้อใด
ก. การวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัส *
ข. ตัวส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับสัญญาณ
ง. ผิดทุกข้อ
3. โดยปกติใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายใน
เป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม และมีอะไรที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
ก. ซิงค์ *
ข. สายเคเบิ้ล
ค. สายโทรศัพท์
ง. ถูกทุกข้อ
4. ในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณเสียง มีกี่ช่อง
ก. 24 ช่อง*
ข. 25 ช่อง
ค. 26 ช่อง
ง. 27 ช่อง
5. โมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy แบ่งออกกี่ชั้น
ก. 4 ชั้น *
ข. 5 ชั้น
ค. 6 ชั้น
ง. 7 ชั้น
6. ชั้นแรกโมเดลของ Synchronous Digital Heirarchy
เรียกอีอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. โฟโตนิก *
ข. ลิงค์
ค. ซิงค์
ง. ผิดทุกข้อ
7. การแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้าอยู่ในชั้ที่เท่าไร
ก. 2 *
ข. 3
ค. 4
ง. 5
8. การรวมและการแยกสัญญาณอยู่ในชั้นที่เท่าไร
ก. 2
ข. 3 *
ค. 4
ง. 5
9. ประเทศใดเรียกเส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลักเป็น SONET
ก. อังกฤษ
ข. อเมริกา*
ค. อินเดีย
ง. จีน
10. กลุ่มยุโรปใช้ กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง
ก. 64 กิโลบิต *
ข. 65 กิโลบิต
ค. 66 กิโลบิต
ง. 67 กิโลบิต
หมายเหตุ เครื่องหมาย * อยู่หลังข้อไหนข้อนั้นถูกต้อง


วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันพุทธที่ 13 สิงหาคม 2008

OSPF
OSPF เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้บนเน็ตเวิร์ก
IP โดยคณะทำงาน Interior Gateway Protocol (IGP)
ย่อยแห่งคณะกรรมการ Internet Engineering Task Force (IETF)
คณะทำงานนี้ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อทำหน้าที่ออกแบบเร้าติ้งโปรโตคอล
ที่ใช้บนเน็ตเวิร์กภายในองค์กร โดยมีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์แบบ
Shortest Path First (SPF) อัลกอริทึมนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า
Dijkstra’S Algorithm ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ออก
แบบและคิดค้นอับกอ ริทึมนี้

OSPF มีคุณลักษณะที่สำคัญ
1. เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลมาตรฐานและเป็นมาตรฐานสากล ข้อกำหนดและพฤติกรรม
ต่าง ๆ ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน RFC (Request for Comments)
IETF ได้พัฒนา OSPF ขึ้นมาในปี 1988 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดซึ่งรู้จักกันในนาม
OSPF เวอร์ชัน 2 ได้รับการอธิบายไว้ใน RFC 2328
2. เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่อาศัยการอัปเดตสถานะของเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซไปให้
กับเร้าเตอร์เพื่อบ้านแล้วให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านสร้างภาพรวมของเน็ตเวิร์ กทั้งหมด
และคำนวณหาเส้นทางเอง แต่จะไม่ ส่งเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้าน
เหมือนกันในกรณีของ Distance Vector
3. มีการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยพิจารณาจากแบนด์วิดธ์ (Bandwidth)
4. รอง รับการตั้งแอดเดรสแบบมีจำนวนบิตของ Subnet Mask ไม่เท่ากัน
(Variable Length Subnet Mask: VLSM) และมีการส่ง Subnet
Mask ไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านด้วย
5. รอง รับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “OSPF Area” ซึ่งสามารถทำให้เน็ตเวิร์กที่
ใช้งาน OSPF สามารถจัดแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นโซนหรือพื้นที่ย่อย ๆ ได้
(เรียกว่าการแบ่ง Area) ทั้งนี้เพื่อจำกัดสโคป หรือขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง
เน็ตเวิร์กโทโพโลยี
6. รอบรับการทำ “Route summarization”
7. รองรับการทำการกระจายแพ็กเก็ตไปบนเส้นทางที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากัน
8. สามารถทำ “Route authentication” ระหว่างเร้าเตอร์เพื่อตรวจสอบ
ตัวตนซึ่งกันและกันก่อน
ที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
9. ไวมากต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Fast convergence)
Wireshark เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดักจับ Packet ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่าย
ในการดักจับ Packet นั้น โปรแกรม Wireshark นั้นจะต้องทำงานที่เครื่องคอม
พิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น
Network Diagram ที่ใช้ Wireshark ในการดักจับ packet แสดงภาพของ
Network Diagram ที่ใช้ในการดักจับ Packet ของการทำงานของ Open
Shortest Path First (OSPF) Protocol ซึ่งจะเป็นการติดต่อเปลี่ยนแปลง
Update Routing Protocol ระหว่าง Core Switch และ Router ใน
Area เดียวกับการค้นหาเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่รัน OSPF จะเกิดขึ้นด้วยการส่งแพ็กเก็ต
พิเศษที่เรียกว่า HELLO PACKET ออกไปไปโดยใช้มัลติคาสก์แอดเดรส 224.0.0.5
หลังจากนั้นแอดเดรสของเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่ค้นพบได้จะถูกเก็บไว้ในตาราง OSPF
Neighbor Table
ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหมายเลข IP Address ของเร้าเตอร์ และ Switch ข้างเคียง
แต่ละตัวที่ค้นพบได้ทางซีเรียสอินเตอร์เฟซต่างๆ กัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน
ถูกสร้างขึ้นได้สำเร็จ สถานะ (State) ที่เห็นจะอยู่ในสถานะ FULL

หลัง จากฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันได้แล้ว เร้าเตอร์จะมีการส่ง Hello packet
ออกไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านทุก ๆ ระยะๆ ตามช่วงเวลาที่เรียกว่า Hello Interval
เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ หากเร้าเตอร์ไม่ได้ รับ HELLO PACKET มาจาเร้าเตอร์
เพื่อนบ้านหลังจากช่วงเวลาที่เรียกว่า Dead Interval ผ่านไปมันตะถือว่าเร้าเตอร์
เพื่อนบ้านนั้น ๆ ได้ดาวน์ลงไป
รูปแบบของ Hello Packetในการสร้างความสัมพันธ์ของ Protocol OSPF
จาก Core Switch ที่มี Source IP Address เป็น 172.18.19.252
ซึ่งมี Destination IP Address เป็น 244.0.0.5 (Multicast Address)
BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท
Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router)
และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ต
BGP ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร
โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง
เราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router) จากนั้นก็จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
รวมทั้งการเปิดสัมพันธไมตรีก่อนที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันต่อไป
ข้อมูล ข่าวสารที่เราเตอร์ทั้งสองใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนกัน รวมไปถึงข่าวสารที่แสดงถึง
ความสามารถในการเข้าถึงกันได้ โดยข่าวสารนี้เป็นในรูปแบบของเลขหมาย AS ของ
แต่ละฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายถือเป็นเส้นทางในการเข้าหากัน ข้อมูลนี้จะช่วยให้เราเตอร์สามารถ
สร้างผังของเส้นทางที่ปราศจากลูป (Loop) ในการเข้าหากัน อีกทั้งเราเตอร์ยังใช้เพื่อ
เป็นการกำหนดเส้นทางเชิงนโยบายที่มีเนื้อหาที่ กำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ

จุดประสงค์ของการใช้ BGP
1.BGP ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้า
และผู้ให้บริการโทรศัพท์ รวมทั้งเครือข่ายอื่น ๆ
2.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบของ Autonomous ต่างๆ
เข้าด้วยกัน
3.BGP เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายในระดับ Enterprise หากองค์กร
ของท่านมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบหลายเชื่อมต่อเพื่อผลแห่ง Redundancy BGP
ก็สามารถทำ Load Balancing Traffic ได้บนเส้นทางที่เป็น Redundant Link
4.จัดเลือกเส้นทางผ่านทางเครือข่ายไปยัง Autonomous System อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกัน
5.มีการเชื่อมต่อระหว่าง Autonomous System มากกว่า 1 เส้น
6.ควบคุมการลำเลียงข้อมูลข่าวสารที่วิ่งไปมาระหว่างระบบ Autonomous System
7.ท่านยังสามารถใช้ Policy ที่กำหนดให้ท่านสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดเพื่อเดิน
ทางไปสู่ปลายทาง

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียน เมื่อวันพุธที่ 6 /08/2551

1.Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละเอียด
1.Static IP Routing
สำหรับการจัดเส้นทางแบบนี้รายการในตารางเราท์ติ้งเทเบิ้ลจะถูกป้อนโดยผู้ดูแลระบบ
ซึ่งข้อมูลในรายการนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น การคอนฟิกตารางนั้นจะค่อนข้างง่าย
แต่ผู้ติดต่อระบบนั้นจะต้องป้อนข้อมูลทุก ๆ ฟิลด์ในตารางเองซึ่งจะเป็นเหมือนการบอกเราท์เตอร์
ให้ทราบว่าเครือข่ายไหนที่สามารถติดต่อได้ ความถูกต้องของข้อมูลในตารางเราท์ติ้งเทเบิ้ล
จะขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ดูแลระบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้ว สำหรับเครือข่ายเล็ก ๆ
จะใช้เราท์เราท์ติ้งเทเบิ้ลแบบสแตติกนี้ แต่เมื่อเครือข่ายขยายใหญ่ขึ้นก็จะใช้โปรโตคอล
แบบไดนามิกซึ่งง่ายต่อการจัดการมากกว่า
2.Dynamic IP Routing
การจัดเส้นทางแบบไดนามิกนี้ก็ใช้ชุดโปรโตคอลเพื่อใช้ในการสร้างตารางเราท์ติ้งเทเบิ้ลแทน
การป้อนข้อมูลเองโดยคน ซึ่งวิธีการสร้างนั้นจะขึ้นอยู่กับโปรโตคอล เช่น โหลดของช่องสัญญาณ
แบนด์วิธของลิงค์ เป็นต้น ข้อได้เปรียบของการใช้โปรโตคอลแบบนี้คือ
รายการในตารางจะถูกอัพเดตโดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่ต้องกังวลว่ารายการในตารางจะผิดพลาด
ส่วนข้อเสียคือ ปริมาณการไหลเวียนของแพ็กเก็ตในเครือข่ายจะเพิ่มขึ้น
โปรโตคอลแบบไดนามิกนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 Distance-Vector Routing Protocol
โปรโตคอลแบบดิสแทนส์เวคเตอร์จะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด โดยใช้เมตริก (Metric)
เป็นเกณฑ์ โดยเมตริกนี้จะเป็นหน่วยที่วัดประสิทธิภาพของลิงค์ไปยังเครือข่ายนั้น
และจะขึ้นอยู่กับโปรโตคอลที่ใช้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้จำนวนฮอบ(Hop) เป็นหลัก
เราท์เตอร์ที่ใช้โปรโตคอลนี้จะรักษาตารางเราท์ติ้งเทเบิ้ล โดยรายการตารางจะขึ้นอยู่
กับสถานะของเครือข่ายนั้น ข้อเสียของโปรโตคอลนี้คือเราท์เตอร์จะต้องทำการแลก
เปลี่ยนข้อมูลซึ่งกัน และกันเพื่ออัพเดตในรายการที่ต้องการในตาราง หรือเพื่อให้
ตารางเราท์ติ้งเทเบิ้ลของในแต่ละเราท์เตอร์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เราท์เตอร์
แต่ละตัวต้องบรอดคาสต์ในช่วงเวลาที่กำหนดตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำให้จำนวนแพ็ก
เก็ตที่ไหลเวียนในเครือข่าย
2.2 Link-State Routing Protocol
โปรโตคอลแบบลิงค์เตท (Link State Routing Protocol)
จะสร้างเส้นทางข้อมูลเหมือนกับต้นไม้ (Tree) โดยรากของต้นไม้นี้คือ
เราท์เตอร์ตัวมันเอง โดยเราท์เตอร์ในแต่ละตัวจะทำการบรอดคาสต์ข้อมูลที่
เกี่ยวกับเครือข่ายที่เชื่อมต่อตรงกับเราท์เตอร์เท่านั้น และเมตริกเราท์เตอร์
จะทำการบรอดคาสต์เฉพาะตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น จึงทำให้ลดจำนวนแพ็กเก็ตในเครือข่ายลงได้
เอกสารอ้างอิง : http://www.kruchanpen.com/network/protocal.htm#a

2.จงบอกคำสั่งที่อยู่ในโหมดแต่ละโหมด โหมดละ 5 คำสั่ง
User Exec Mode
User Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter
เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt
ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router
แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น

Routerhostname >

ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
คำสั่งaccess-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect
ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec mode
help
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat
เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock
ใช้เพื่อ lock terminal

Privileged Exec Mode
เป็นโหมดที่ทำให้ท่านสามารถเปลี่ยนแปลง ค่า Configuration
ในตัว Router เมื่อใดที่ท่านเข้าสู่โหมดนี้ไปแล้ว ท่านจะสามารถ
เข้าสู่การทำงานของโหมดอื่น เพื่อการเปลี่ยนค่า Configuration
รวมทั้งขอบข่ายการทำงานของ Router ได้โดยง่าย
วิธีการเข้าสู่ Privileged Exec Mode ได้แก่การใช้คำสั่ง
enable ขณะที่ท่านยังอยู่ใน User Exec Mode แต่ส่วนใหญ่
เมื่อท่านกำลังจะเข้าสู่ Privileged Exec Mode ท่านมักจะได้
รับการร้องขอให้ใส่รหัสผ่าน หากท่านสามารถใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง
ท่านจะได้เห็น Prompt ใหม่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า ท่านสามารถเข้า
สู่โหมดนี้ได้แล้ว ท่านจะได้เห็นชื่อของ Router รวมทั้งเครื่อง
หมายของ Prompt ที่เป็นรูป # เช่น
myrouter#
Privileged Mode จะทำให้ท่านสามารถ Access
เข้าไปที่โหมดต่างๆ ของ Router ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดของ
ระบบปฏิบัติการที่ท่านใช้อยู่ ต่อไปนี้เป็นคำสั่งที่ท่านจะได้พบ
หรือสามารถนำมาใช้งานได้บน Privileged Mode นี้
ตารางที่ 2 คำสั่งที่อยู่ใน Privileged Mode
คำสั่ง
Access-enable
เป็นการสร้าง Access List แบบชั่วคราว
Access-template
สร้าง Access List แบบชั่วคราว
Clear
เป็นคำสั่งที่ใช้เคลียร์ หน้าที่การทำงานต่างๆออกทั้งหมด
Clock
จัดการระบบนาฬิกาของระบบ
Configure
เข้าสู่ Configure Mode
Connect
เปิดการเชื่อมต่อ Terminal
Copy
เป็นการคัดสำเนาค่า Configuration และข้อมูล
Debug
เป็นการใช้คำสั่ง debug
Disable
เป็นการยกเลิก Privileged Mode
Disconnect
ใช้เพื่อการ Disconnect การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
Enable
ใช้เพื่อเปิดการเข้าสู่ privileged mode

3. Command prompt ในโหมดต่างๆ
ตอบ Command Mode Command Mode
หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่
User Exec Mode
Privileged Exec Mode
Global Configuration Mode
Interface Configuration
Boot Mode
User Exec Mode

4.User exec mode พร้อมรายละเอียดUser Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่น
Routerhostname >
ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
คำสั่ง access-enable
เป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
clear
เป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
connect
ใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
disable
ปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
disconnect
ยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
enable
เข้าสู่ privileged Exec mode
exit
ออกจากการใช้ User Exec mode
help
ใช้เพื่อแสดงรายการ help
lat
เปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)
lock
ใช้เพื่อ lock terminal
login
loginเข้ามาเป็น user
logout
exit ออกจาก EXEC
mrinfo
ใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่ง
mstat
แสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้ว
mtrace
ใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทาง
name-connection
เป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่
pad
เปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PAD
Ping
ใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
ppp
ใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPP
resume
ใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้ง
rlogin
เปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกล
show
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบัน
slip
เริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)

systat
เป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบ
telnet
เป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnet
terminal
เป็นการจัด Parameter ของ Terminal Line
traceroute
เป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทาง
tunnel
เปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnel
where
แสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

5.คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของ Router จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง
การใช้คำสั่งเพื่อตรวจสอบสถานะของ Router
ต่อไปนี้ เป็นคำสั่งที่ท่านสามารถนำมาใช้เพื่อการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของ
Cisco Router โดยที่คำสั่งเหล่านี้ ยังช่วยให้ท่านสามารถเฝ้าดู และตรวจสอบหาจุด
เสียที่เกิดขึ้นกับ Router ดังกล่าวได้อีกด้วย
คำสั่งที่ใช้เพื่อแสดงสถานะของ Router มีดังนี้
คำสั่ง
- show Version
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware เช่น
Version ของ Software ที่ใช้ใน Router ชื่อของ Configuration File
อันเป็นต้นฉบับ รวมทั้ง Boot Images
- show Processes
ใช้เพื่อแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ โปรเซสที่กำลังเกิดขึ้น และยัง
ดำเนินการอยู่ทั้งหมดภายใน Router
- show Protocols
ใช้แสดง Protocol ใน Router ที่ได้รับการจัด Configured เรียบร้อยแล้ว
โดยคำสั่งนี้ จะทำการแสดง Protocol ที่ทำงานในระดับชั้น Layer 3(Network Layer) ของ OSI Model
- show Memory
ใช้เพื่อการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยความจำในตัว Router
รวมทั้งปริมาณของหน่วยความจำที่เหลือจากการใช้งาน
- show ip route
ใช้เพื่อการแสดงข้อมูลข่าวสารที่อยู่ใน ตารางเลือกเส้นทาง (Routing Table)
- show flash
แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ อุปกรณ์ประเภท Flash Memory
- show running-config
ใช้เพื่อการแสดงค่าพารามิเตอร์ของ Configuration ต่างๆที่กำลังทำงานกันอยู่ในขณะนี้
- show startup-config
ใช้เพื่อการแสดง File ที่ใช้ backup ค่า Configuration ต่างๆ
- show interfaces
ใช้เพื่อการแสดงสถิติของ Interface ทั้งหมดที่ได้จัดตั้ง Configured เรียบร้อยแล้วบน Router

คำสั่ง show versions
Router# show version
IOS (tm) 2500 Software (C2500-JS-L), Version 11.2 (6) RELEASE SOFTWARE (fcl)
Copyright (c) 1986-1997 by cisco Systems, inc.
Compiled Tue 06-MAY-97 16:17 by Kuong
Image text base: 0x0303ED8C, data-base: 0x00001000
ROM: System Bootstrap, Version 5.2 (8a), RELEASE SOFTWARE
ROM: 2500-XBOOT Bootstrap Software, Version 10.1 (1), RELEASE SOFTWARE (fcl)
Router uptime is 1 week, 3 days, 32 minutes
System start by reload
System image file is "c2500-js-1", booted via tffp from 171.69.1.129
----- more -----
คำอธิบายเพิ่มเติม
ข้อมูลข่าวสารจาก show version มีความสำคัญมาก หากท่านได้มีการ Upgrade Software
บน Router ของท่าน หรือในกรณีที่ท่านต้องการจะค้นหาจุดเสีย
สังเกตว่า คำสั่งนี้มิเพียงแต่แสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version ของ Software ที่ท่าน
กำลังใช้งานใน Router เท่านั้น แต่ยังแสดงสถิติถึงระยะเวลาที่ท่านได้เปิด router ตัวนี้ ใช้งาน
รวมทั้งชื่อของ image File
คำสั่ง show startup-config
Router# show startup-config
Using 1108 out of 130048 bytes
!
version 11.2
!
hostname router
------ more -----
คำสั่ง show startup-config เป็นคำสั่งที่ทำให้ผู้บริหารเครือข่าย สามารถมองเห็น
ขนาดของ image และคำสั่ง Startup configuration ที่จะถูกนำมาใช้ในครั้งต่อไปที่มีการ Start
ตัว router
คำสั่ง show interfaces
คำสั่ง show interfaces เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงค่าพารามิเตอร์ที่ได้ถูกจัด
ตั้งไว้แล้ว รวมทั้งสถิติการทำงานของ อินเทอร์เฟส แบบเวลาจริงที่เกิดขึ้นบน router
ในขณะนั้น คำสั่งนี้มีประโยชน์มาก ในการใช้เพื่อติดตามดูอินเทอร์เฟส
ชนิดเจาะจง หรือเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลง Configuration
ของ อินเทอร์เฟสไปแล้ว ข้อมูลอันเป็นสถิติที่ท่านจะได้จาก router หลังจากที่เรียกคำสั่งนี้ มีดังนี้
สถานะของ Interface
-ค่า maximum transmission unit ของอินเทอร์เฟส (ค่า Maximum Transmission Unit หรือ MTU
เป็นค่าที่กำหนดขนาดของเฟรมหรือ แพ็กเก็ตที่ Router จะอนุญาตให้วิ่งผ่านได้โดยไม่ต้อง
มีการทำแฟลกเมนต์ หรือแบ่งขนาดของแพ็กเก็ตออกเป็นส่วนๆ)
-ค่าไอพีแอดเดรสของอินเทอร์เฟส
- แสดง MAC Address ของ LAN Card
- ชนิดของ Encapsulation ที่ใช้
- จำนวนของแพ็กเก็ตที่ได้รับมาทั้งหมด
- จำนวนของแพ็กเก็ตที่เกิดความผิดพลาด ขณะที่วิ่งเข้าวิ่งออกจาก Router
- จำนวนของ Collision ที่ถูกตรวจพบ (หากอินเทอร์เฟสที่ใช้เป็นระบบอีเทอร์เน็ต)
คำสั่ง Show interface เป็นคำสั่งที่มีประโยชน์มาก ในการพิสูจน์ดูการทำงานของ Router
อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาด จากการทำงานของ Router และเครือข่าย
ต่อไปนี้เป็นหน้าจอที่แสดงข่าวสาร หลังจากใช้คำสั่ง show interface
Router#show interfaces
Serial0 is up, line protocol is up

Hardware is MK5025
Internet address is 183.8.64.129, subnet mask is 255.255.255.128
MTU 1500 bytes, BW 56 kbit, DLY 20000 usec, rely 255/255, load 9/255
Encapsulation HDLC, loopback not set, keepalive set (10 sec)
Last input 0:00:00, output 0:00:01, output hang never
Last clearing of "show interface" counters never
Output queue 0/40, 0 drops:input queue 0/75, 0 drops
Five minute input rate 1000 bits/sec, 0 packets/sec
Five minute output rate 2000 bits/sec, 0 no buffer

331885 packets input, 62400237 bytes, 0 no buffer
Received 230457 broadcasts, 0 runts, 0 giants
3 input errors, 3 CRC, 0 frame, 0 overrun, 0 ignored, 0 abort
403591 packets output, 66717279 byres, 0 underruns
0 output errors, 0 collisions, 8 interface resets, 0 restarts
45 carrier transitions
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการใช้คำสั่งที่สำคัญสำหรับ Router Cisco
ซึ่งท่านที่จะดูแลระบบเครือข่ายอาจต้องพิจารณาศึกษาการใช้คำสั่งต่างๆ เพื่อประโยชน์
การใช้งาน Router สูงสุด

6.การเลือกเส้นทางแบ static คืออะไร
การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นการกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด
กระทำโดยผู้บริหารจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มี
ค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหาร
จัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้
มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้
-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก
-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า
ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว
-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น
-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจาก
ไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router
ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง

7. การเลือกเส้นทางแบบ Dynamicคืออะไร
ประเภทของโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ
Dynamicโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic
มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
Exterior Gateway Routing Protocol
Distance Vector Routing Protocol
Link State Routing Protocol
Distance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm"
ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะ
ของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information
ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router
เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล
ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึง
ระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)
หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing
Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่
กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router
ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน
หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอน
Distance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออก
แบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector
Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้น
ตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm
ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information Protocol
Link State Routing
Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First
(SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router
แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อ
กับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการ
เชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำ
การสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด
จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า
Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดู
สถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ
Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติด
ต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ
Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast
ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย การจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี
การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง
(Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่
คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่ม
ต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router
(config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบาย
รายละเอียดของรูปแบบคำสั่ง
Protocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF
หรือ Enhanced IGRP
Keyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับ
โปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRP
คำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจาก
มันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet
เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง
Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface
ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์
เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้
Router (config-router)#network network- numberNetwork-number
ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่
ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC

8.Protocol ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้าง
โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocol
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing Protocol

- Interior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter
ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF
- Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กร
กันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGPDistance Vector
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router
ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้น
ทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า
เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง
โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส
ของเครือข่ายปลายทางเป็น Vector
Link State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First
(SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router
แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router
ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ
ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกัน

- Routing Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)
Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล
สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway
host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง
host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing
โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง
และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือก
เส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120
วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมด
ไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP
Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host
(ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP
มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต
ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตาราง
ค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อ
การเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย
ประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรง

- Routing Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง
สำหรับการจัดการสารสนเทศของ
- router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม
ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force
(IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol
(หรือ InteriorGatewayProtocol)

- Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล
(Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก
เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol
แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบ
เสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของ
ระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป
(Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดี

- Enhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP)
นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการ
ค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol:
เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ
EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector
และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอล
แบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)
เอกสารอ้างอิง :http://www.pmts1.th.gs/web-p/indy/Untitled-3.html

9. อธิบาย Protocal Distance Vector ให้เข้าใจ
ตอบ ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector
คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล
โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก จากรูป Router A
จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น
ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่อง
ใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B
เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B
จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop
และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพ
ของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง
จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol
จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผล
ลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router
ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ
Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้ง
เอาไว้การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก
และมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector
ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP
(Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น


10. Protocol BGP คืออะไรมีหลักการทำงานอย่างไร
ตอบ Border Gateway Protocol (BGP) เ
ป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host
(ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะ
ได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing
ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric)
ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การ
ติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่ง
ข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง
จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหาร
ระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ
แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก
router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP
(Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอล
ที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol

11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิด
ประเภทของใยแก้วนำแสง
ภายในใยแก้วนำแสงนั้น จำนวนลำแสงที่เดินทางหรือเกิดขึ้นจะเป็นตัวบอกโหมดของ
แสงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงนั้นกล่าวคือ ถ้ามีแนวลำแสงอยู่แนวเดียวเรียกว่า
เส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียว (Singlemode Fiber) แต่ถ้าภายในเส้นใยแก้วนำ
แสงนั้นมีแนวลำแสงอยู่จำนวนหลายลำแสง เรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมด
(Multimode Fiber) นอกจากการแบ่งชนิดใยแก้วนำแสงตามลักษณะของโ
หมดแล้วก็ยังมีวิธีอื่นที่แบ่งโดยวัสดุที่ทำ เช่น เส้นใยที่ทำจากแก้ว พลาสติก หรือโพลิเมอร์

Multimode Fiber Optic (MMF)
สายไฟเบอร์แบบมัลติโหมด (Multimode Fiber Optic หรือ MMF)
เป็นสายไฟเบอร์ที่นิยมใช้งานในระบบ LANมากที่สุด โครงสร้างภายในของเส้นใย
แก้วนำแสง จะประกอบด้วยแกนและแคลด ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับเส้น
ใยแก้วนำแสงหลายโหมด ประเภทที่นิยมกันมากที่สุดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนที่
62.8 ไมครอน (1 micron = 10-6m = mm) และส่วนที่เป็นแคลดมีเส้นผ่านศูนย์
กลางที่ 125 ไมครอน ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกสายไฟเบอร์ประเภทนี้สั้นๆ เป็น 62.5/125
MMF ส่วนสายไฟเบอร์ขนาดอื่นที่นิยมรองลงมาคือ 50/125 MMF
ขนาดของแกนของสายมัลติโหมดจะมีขนาดใหญ่กว่ายสายแบบซิงเกิลโหมด สายไฟ
เบอร์แบบมัลติโหมดนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกตามลักษณะของดัชนีหักเหของส่วนที่แกนและแคลด
เช่น ใยแก้วนำแสงชนิดดัชนีขั้นบันได (Step Index) และดัชนีรูปมน (Graded Index)
เป็นต้น เนื่องจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนของเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดนั้นมี
ขนาดใหญ่ ดังนั้นแสงที่ตกกระทบที่ปลายส่งของเส้นใยแก้วนำแสงมีมุมตกกระทบที่ต่าง
กันหลายค่า จากหลักการสะท้อนกลับหมดของแสงที่เกิดขึ้นภายในส่วนของแกนทำให้มี
แนวลำแสงที่เกิดขึ้นหลายแนว ซึ่งแนวการเดินทางของแสงจะนิยมเรียกว่า โหมด ดังนั้นคำว่า
"มัลติโหมด (Multimode)"จึงหมายถึงสายใยแก้วที่อนุญาตให้แสงเดินทางผ่านหลาย
แนวนั่นเอง เนื่องจากมุมตกกระทบของโหมดแสงบนผิวระหว่างแกนและแคลดนั้นไม่เท่ากัน
ทำให้ระยะทางการเดินทางของแสงแต่ละโหมดจากต้นสายไปยังปลายสายไม่เท่ากัน
ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเรียกว่าการแตกกระจายของโหมดแสง (Modal Dispersion)
ซึ่งเหตุการณ์นี้จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการรับสัญญาณที่ปลายสาย ด้วยเหตุนี้จึง
ได้มีการพัฒนาใยแก้วนำแสงแบบดัชนีรูปมล (Graded Index) ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้
สายไฟเบอร์แบบเกรดอินเดกส์นี้จะสร้างโดยให้ดัชนีอินเดกส์ของแสงในส่วนแกนนี้มีค่าเปลี่ยน
แปลงตามระยะทางจากจุดศูนย์กลาง ทำให้ระยะเดินทางของแสงแต่ละโหมดมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น

Singlemode Fiber Optic (SMF)
สายไฟเบอร์ออฟติคแบบซิงเกิลโหมด (Singlemode Fiber Optic หรือ SMF)
มีเส้นใยแก้วส่วนแกนขนาดเล็กกว่าสายมัลติโหมด โดยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกน
ประมาณ 8-10 ไมครอน และส่วนที่เป็นแคลดประมาณ 125 ไมครอนสายแบบนี้จะอนุญาต
ให้แสงเดินทางเพียงแนวเดียว ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ซิงเกิลโหมด (Single mode)
ข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดียวคือ แสงจะไม่เกิดการแตกกระจาย (ModelDispersion)
ซึ่งเกิดขึ้นกับเส้นใยแสงชนิดหลายโหมด ดังนั้นจึงทำให้การรับสัญญาณที่ปลายสายดีกว่า
ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลกว่า

เอกสารอ้างอิง :http://www.cablethailand.com/techsupport_detail2.asp?ccode=0521102452253

12. สัญญาณของสายใยแก้วนำแสงต่างๆชนิด
echo ปัญหาที่สำคัญของ DSL คือ การใช้สายทอง- แดงทำการเชื่อมต่อ
ระหว่างบ้านและสถานีเครือ-ข่าย ทำให้สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ช้ากว่าระบบ
เครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้สายใยแก้ว ซึ่งเป็นสื่อนำสัญญาณที่ดีกว่า โดยหลักการ
แล้วการเชื่อมต่อด้วยสายทองแดงนี้สามารถทำความเร็ว ในการดาวน์โหลดสูง
สุดได้ถึง 2MBit/s (ขึ้นอยู่กับระยะทาง) แต่ระบบ DSL ในปัจจุบันนั้นยัง
ไม่ได้ดึงประสิทธิภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่ อีกทั้งในทุกวันนี้นี้ก็มีทางเลือก
อื่นที่น่าสนใจ ที่จะมาแทนที่ DSL อยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นสาย-ไฟ เคเบิลทีวี
หรือล่าสุด Sky DSL หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนั่นเอง
และสำหรับ ระบบเครือข่ายสายใยแก้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะสามารถเชื่อม
ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ด้วย VDSL ซึ่งสามารถมีความเร็วสูงสุดได้ถึง 52Mbit/s
ซึ่ง CHIP จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของระบบเหล่านี้ รวมทั้งราคา
และหลักการทำ-งานของพวกมันด้วย DSL: มาตรฐาน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
DSL ได้กลายเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศแถบยุโรป
ด้วยเหตุผลที่ดีอย่างน้อยข้อหนึ่งคือ ผู้ให้บริการแทบจะไม่ต้องลงทุนในเรื่องของโครงข่ายเลย

echoADSL ข้อดี : ราคาถูก ค่าบริการเป็นเหมาจ่ายไม่ขึ้นอยู่กับจำนวน
เวลาและปริมาณการส่งผ่านข้อมูล ข้อเสีย : แบนด์วิดธ์ต่ำ การส่งผ่านข้อมูลในระบบ
ADSL ก็กระทำผ่านสายทองแดงเช่นเดียวกัน โดยความถี่ในช่วงตั้งแต่ 0.3 ถึง 3.4kHz
นั้นจะเป็นช่วงสำหรับระบบโทรศัพท์แบบอนาล็อก (POTS = Plain Old
Telephone Service) ช่วงความถี่ที่สูงกว่านั้นจนถึง 120kHz จะเป็นช่วง
ความถี่สำหรับ ISDN และตั้งแต่ 138 จนถึง 1104kHz จึงเป็นช่วงความถี่
สำหรับ ADSL โดยที่ช่วงความถี่ 138 ถึง 276kHz นั้นจะใช้สำหรับการอัพโหลด
และส่วนที่เหลือก็จะจองไว้สำหรับการดาวน์โหลด ช่วงความถี่นี้จะถูกแบ่งเป็น
ช่องสัญญาณ ต่างๆ กว่า 200 ช่อง โดยแต่ละช่องสัญญาณ จะมีความกว้าง
ประมาณ 4.3125 kHz ด้วยวิธี DMT Method (Discrete Multi
Tone) จากนั้นโมเด็ม DSL ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและ DSLAM (Digital
Subscriber Line Access Multiplexer - ทำหน้าที่กรอง
สัญญาณที่เข้ามาหาข้อความและข้อมูล) ในสถานีเครือข่ายที่ใกล้ที่สุด
จะทำการเลือกช่องสัญญาณที่จะใช้ในการรับส่งสัญญาณตามคุณภาพของ
สายเชื่อมต่อ ความเร็วของระบบ DSL ในส่วนของการดาวน์โหลดจะเป็น
ไปได้ตั้งแต่ 786 ถึง 1500 Kbit/s และในส่วนของการอัพโหลด
ตั้งแต่ 128 ถึง 256 kBit/s และจากความเร็วที่แตกต่างกันระหว่าง
การดาวน์โหลดและอัพโหลดนี้เอง ทำให้เกิดชื่อที่ถูกต้องสำหรับระบบ
DSL นี้มาคือ Asynchronous Digital Subscriber Line
(ADSL) ซึ่งก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าเดิม การที่ระบบ
นี้ในช่องสัญญาณดาวน์โหลดนั้นจะมีแบนด์วิดธ์ กว้างมากกว่า ทำให้ผู้ใช้
สามารถโหลดข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่าการอัพโหลด DSL
ข้อดี : ความเร็วของอัพโหลดและดาวน์โหลดมีอัตราที่เท่ากันและยังรอง
รับแบนด์วิดธ์สูงๆ ได้ ข้อเสีย : ราคาแพง ไม่มีค่าบริการแบบเหมาจ่าย
ถ้ามีการติดขัดของข้อมูลเกิดขึ้นเสมอๆ บนช่องสัญญาณอัพโหลดของ
DSL คุณสามารถแก้ไขได้สองวิธีคือ ใช้ Traffic Shaping
ซึ่งจะไม่กระทบกระเทือนต่อความเร็วในการดาวน์โหลดของคุณ แต่ก็ไม่
ได้เพิ่มแบนด์วิดธ์ของช่องสัญญาณอัพโหลด เลย ทางแก้อีกทางก็คือใช้
การเชื่อมต่อแบบ SDSL (Synchronous Digital Subscriber
Line) อย่างที่ชื่อของมันก็บอกอยู่แล้ว ระบบ SDSL นั้นจะมีความเร็ว
ในช่องสัญญาณอัพโหลดและดาวน์โหลดเท่ากัน แต่ข้อเสียของระบบแบบนี้
ก็คือค่าบริการจะมีราคาแพง มาตรฐาน : DSL Modem และ Access
Hardware อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
Cable : อีกทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสายโทรทัศน์ สายไฟ
หรือดาวเทียมรอบโลก ไซเบอร์สเปซสามารถ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
ที่บ้านคุณได้หลายเส้นทาง CHIP จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของทางเลือกเหล่านี้
echoTV Cable ข้อดี : โดยทฤษฎีแล้วมีใช้ในแทบทุกพื้นที่
ความเร็วสูงและราคาถูก ข้อเสีย : บ่อยครั้งที่ยังขาด Back Channel
และแบนด์วิดธ์จะลดลงผกผันกับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วการ
แพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ทางสายเคเบิลจะใช้ย่านความถี่ระหว่าง 50-
450 MHz โดยช่วงความถี่ 300-450 MHz หรือที่เรียกว่า Hyper
Band นั้นจะถูกจองไว้สำหรับโทรทัศน์ดิจิตอล ส่วนการดาวน์โหลด
อินเทอร์เน็ตในขาลงนั้น ผู้ให้บริการจะใช้ย่านความถี่ที่สูงกว่า Hyper
Band ขึ้นไป และจะมีเนื้อที่ประมาณ 8 MHz ที่จะจองไว้สำหรับ Back
Channel ที่สามารถ ส่งผ่านข้อมูลได้ในความเร็วถึง 30 MBit/s
แต่ข้อเสียที่สำคัญของสายทีวีก็คือ มันเป็นการ ต่อเชื่อมแบบ Point
to Center Connection ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ทุกๆ คนจะต้องทำ
การแบ่งแบนด์วิดธ์ที่มีต่อกัน นอกจากนั้นบ่อยครั้งที่ มันขาดความสามารถ
ในเรื่องของ Back Channel ด้วย ค่าบริการสำหรับอินเทอร์เน็ตผ่าน
ทาง TV Cable ในประเทศแถบยุโรปจะอยู่ที่ประมาณ 99 ยูโรต่อเดือน
โดยจะมีความเร็วในการอัพโหลด 1,024 Kbit/s และความเร็วใน
การดาวน์โหลด 550 Kbit/s และจะมี IP Address ถาวรสำหรับ
ผู้ใช้แต่ ละคน แต่ถึงแม้ว่าราคาของการเชื่อมต่อแบบนี้จะค่อนข้างสูง
แต่นักเล่นเกมออนไลน์ทั้งหลายก็นิยมที่จะใช้มันเนื่องจาก มันมีค่า Ping
Time ที่ต่ำมาก ซึ่ง Ping Time นี้จะถูกวัดเป็น ms (มิลลิ-วินาที)
และเป็นตัวที่แสดงระยะเวลาที่ Data Packet ใช้ในการเดินทางใน
อินเทอร์เน็ตจนถึงจุด-หมายปลายทาง สำหรับการเล่นเกมนั้นยิ่งค่า Ping
Time ต่ำเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ผู้เล่นสามารถควบคุมเกมออนไลน์ได้คล่องตัว
มากขึ้นเท่านั้น ค่า Ping สำหรับการเล่นเกมออนไลน์นั้นไม่ควรมาก กว่า
80 ms และด้วย สาย TV Cable นี้สามารถให้ค่า Ping ที่ต่ำได้ถึง
30 ms สิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีอีกอย่างก็คือ Cable Modem แบบพิเศษ
โดยมากแล้วผู้ให้บริการจะมีให้เช่า ซึ่งต้องเสียค่าบริการเป็นรายเดือนประมาณ
5-10 ยูโร

echoPower Line ข้อดี : อินเทอร์เน็ตจากปลั๊กไฟ
โดยทฤษฎีแล้วจะใช้ได้ทั่วไป ข้อเสีย : แบนด์วิดธ์น้อยและจะลดลง
ตามจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น แนวคิดในการส่งผ่านข้อมูลไปทางสายไฟนั้น
มีมานานแล้ว เห็นได้จาก Baby-Phone หรือแม้แต่ไฟตามถนนต่างๆ
เองก็จะถูกเปิดปิดโดยใช้หลักการนี้ แต่ตัวอย่างที่ยกมานั้นเป็นการใช้งาน
ที่ต้องการแบนด์วิดธ์ไม่มาก ส่วนอินเทอร์เน็ตจากปลั๊กไฟ
(PLC = Power Line Communication) นั้นเป็นการใช้งานที่ต้อง
การแบนด์วิดธ์มาก ปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบแบบนี้ก็คือมันจะก่อให้เกิด
สัญญาณรบกวนขึ้น เพราะสายไฟที่ใช้อยู่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ป้องกัน
การกระจายของคลื่นความถี่สูงๆ ดังนั้นมันจึงกลายเป็นเสมือนเสาอากาศที่
จะส่งสัญญาณรบกวนออกไป โดยเฉพาะสำหรับพวกนักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลาย
ถึงแม้แค่ระยะทางของสายไฟนั้นจะเป็นการเดินสายแค่จากบ้านของผู้ใช้ไปจนถึง
Transformer Station ถัดไปแค่นั้นก็ตาม ส่วนระยะทางที่เหลือจาก
Transformer Station ไปจนถึงผู้ให้บริการนั้นจะเป็นการส่งสัญญาณ
ไปตามสายใยแก้ว ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของระบบอินเทอร์เน็ตแบบนี้
จะอยู่ที่ประมาณ 180-500 Kbit/s และราคาอยู่ที่เกือบ 100 ยูโร
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ข้อดี : ความเร็วสูง ข้อเสีย : ราคาสูงมาก
ไม่มีค่าบริการเหมาจ่าย และค่า Ping Time สูง เพื่อที่จะให้คุณสามารถ
รับอินเทอร์เน็ตจาก อวกาศได้ ก่อนอื่นผู้ให้บริการต้องส่งข้อมูลไปยังดาวเทียม
ก่อนด้วยจานส่งรูปพาราโบลา จากนั้นดาวเทียมจึงจะทำการส่งต่อสัญญาณไป
ยังเครื่องรับที่บ้านของผู้ใช้ และเนื่องจากข้อมูลต้อง เดินทางเป็นระยะกว่า 72,000
กิโลเมตร ทำให้มันมีค่า Ping Time ที่สูงมาก จึงไม่เหมาะสำหรับนักเล่นเกมออน
ไลน์ สำหรับช่องสัญญาณการอัพโหลดที่จำเป็น สำหรับการเรียกดูหน้าเว็บไซต์
การดาวน์โหลด หรือส่งอีเมล์นั้น มีสองวิธีที่ใช้กันอยู่คือ ใช้การหมุนโทรศัพท์ออก
ตามปกติ หรือใช้การเชื่อมต่อ ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งจานรับสัญญาณ
จะสามารถเป็นช่องทางสัญญาณอัพโหลดสำหรับส่งข้อมูลไปยังดาวเทียมได้ด้วย
ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือราคาอุปกรณ์ที่สูงมาก (ประมาณ 1500 ยูโรขึ้นไป)
ความเร็วของระบบแบบนี้ใน ประเทศแถบยุโรปจะอยู่ที่ประมาณ 768 Kbit/s
และเสียค่าบริการรายเดือนประมาณเดือนละ 40 ยูโรระยะทางไกล : ในระบบ
Sky DSL นั้นข้อมูลต้องเดินทางประมาณ 72,000 กิโลเมตร กว่าจะมาถึง
เครื่องของคุณทำให้ค่า Ping Time สูง อนาคต : ท่องโลกอินเทอร์เน็ตด้วยแสง
ด้วยเคล็ดลับทางเทคนิคเล็กน้อยสายทองแดงแบบเก่าก็สามารถที่จะส่งผ่านข้อมูล
ได้ถึง 4 MBit/s และด้วยสายใยแก้วนั้นจะทำให้คุณสามารถ ดาวน์โหลดซีดีทั้ง
แผ่นได้ในเวลาเพียงแค่ไม่ถึง 2 นาทีเท่านั้น

HDSL ข้อดี : เร็ว และเป็นทางสำรองสำหรับระบบสายถาวร ข้อเสีย :
ราคาแพง ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงได้ HDSL (High Data
Rate Digital Subscriber Line) เป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนา DSL
ซึ่งหลักการนั้นก็ง่ายมากคือ แทนที่จะใช้สายทอง- แดงเพียงคู่เดียวอย่างใน ADSL
ก็เพิ่มเป็นอย่างน้อย 2 คู่ หากระยะทางระหว่างผู้ให้บริการถึงผู้ใช้นั้นไกลกันมาก
ก็อาจจะต้องใช้ถึง 3 คู่ ด้วยวิธีนี้ทำให้ HDSL สามารถส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 4 MBit/s
ทั้งการดาวน์โหลดและอัพโหลดพร้อมๆ กัน ข้อดีที่เห็นได้ชัดของ HDSL คือผู้ให้
บริการสามารถใช้เครือข่ายสายทองแดงที่มีอยู่แล้วต่อไปได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็อยู่ที่
ความยุ่งยากในการแก้ไขสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น และนอกจากนั้นยังทำให้ไม่สามารถ
ใช้โทรศัพท์ผ่านสายทองแดงอย่างเคยได้ ซึ่งข้อหลังนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ HDSL
ไม่ได้รับความนิยมมากนัก VDSL ข้อดี : แบนด์วิดธ์สูงมาก ข้อเสีย : ค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ให้บริการค่อนข้างสูง และในขณะนี้ยังอยู่แค่ในขั้นตอนการทดสอบเท่านั้น
เมื่อครั้งที่องค์การไปรษณีย์ของเยอรมนีจะทำการวางเครือข่ายโทรศัพท์สื่อสารในรัฐ
ใหม่หลังจากการรวมประเทศของเยอรมนีนั้น ได้มีการใช้สายใยแก้วแทนสายทองแดง
ธรรมดาในหลายๆ เมือง และในขณะนั้น ADSL ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักดีนัก ดังนั้นจึงน่า
เสียดายที่เมืองหลายๆ เมืองยังคงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มแบบ 56k
ธรรมดาหรือผ่าน USDN ทั้งๆ ที่มีระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ทันสมัยรองรับอยู่แล้ว
แต่ด้วยโปรเจ็กต์ OPAL น่าจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ VDSL
(Very High Data Rate DSL) ได้รับความนิยมขึ้นมา ด้วย สายใยแก้วนี้จะ
ทำให้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 52 MBit/s ในการดาวน์โหลด
ซึ่งเร็วกว่า DSL 68 เท่า และเร็วกว่า ISDN ถึง 800 เท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม
กว่าที่จะไปถึงจุดนั้นได้ก็ยังคงมีอุปสรรคอีกมากโดยเฉพาะในส่วนของ การลงทุน
ของผู้ให้บริการเพราะในโปรเจ็กต์ OPAL นั้นต้องมีการวางสายใยแก้วจากผู้ให้บริการ
สองแบบด้วยกันคือ FTTC (Fibre to the Curb) ที่สายใยแก้วจะไปสิ้นสุด
ลงที่ทางเดินเท้า และ FTTB (Fibre to the Basement) ที่สายใยแก้วจะ
เข้าไปจนถึงห้องใต้ดินของบ้าน ส่วนระยะทางที่เหลือคือจากจุดแยกของสายก็จะใช้
สายทองแดงในการส่งผ่านข้อมูลเช่นเดิม การรับส่งข้อมูลแบบผสมนี้ถือว่าเหมาะมาก
เพราะระบบสายโทรศัพท์เดิมที่บ้านก็เป็นสายทองแดงอยู่แล้ว ระยะทางสูงสุดที่จะ
สามารถส่งผ่านข้อมูลทางสายทองแดงด้วยความเร็ว 52 MBit/s ได้โดยไม่มี
สัญญาณรบกวนคือ 300 เมตร แต่การเปลี่ยนจากสายใยแก้วมาเป็นสายทอง-แดงนี้
เองที่เป็นตัวทำให้ต้องลงทุนสูง เพราะนอกเหนือไปจากที่ต้องมีจุดแยกสายแล้ว
ยังต้องมีโมเด็มเพิ่มขึ้นมาอีกตัวสำหรับแปลงสัญญาณของสายใยแก้วให้เหมาะ
สำหรับสายทองแดง และผู้ใช้ต้องมีโมเด็มอีกเครื่องที่คอมพิวเตอร์เช่นเดิม
แบนด์วิดธ์ : ด้วยใยแก้วนำแสงทำให้การดาวน์โหลดมีความเร็วได้สูงถึง 52
MBit/s Wireless LAN ข้อดี : มี Web Access ตลอดเวลา
เป็นเทคนิคที่สมบูรณ์แล้วและราคาถูก ข้อเสีย : มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ
แต่ก็ยังไม่ทุกพื้นที่ โปรเจ็กต์อย่าง SydneyWireless
(www.sydneywireless.com) หรือ SeattleWireless
(www.seattlewireless.net) คงจะบ่งบอกถึงทิศ-ทางของลักษณะ
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี W-LAN-Access Points
ตาม ที่สาธารณะต่างๆ เช่นในร้านอาหารหรือในที่ พักอาศัยจะสามารถสร้างเครือข่าย
WAN (Wide Area Net-work) ขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถ
ที่จะเชื่อมต่อเข้าระบบเพื่อท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และสะพานที่
จะใช้ไปสู่โลกอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจะเป็น DSL, สายเคเบิลหรือระบบสายถาวรต่างๆ
ถ้าจำเป็นต้องใช้สะพานเหล่านี้อยู่ ใน Forum และ Chat ต่างๆ ได้มีการถกเถียง
กันอย่างมากระหว่าง Wireless User ทั้งหลายถึงทางเลือกใหม่ๆ และตัว WAN
นั้นควรจะเป็นอินเทอร์เน็ตเสียเองเนื่องจากมีข้อมูลต่างๆ อยู่ครบถ้วนแล้ว นั่น
จะทำให้อินเทอร์เน็ตอย่างที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้ก็จะหมดความหมายลง ไป
แต่ก็ยังมีปัญหาทางด้านเทคนิคบางประการ อยู่เช่นการ Roaming หรือการส่ง
ต่อระหว่างสถานีสัญญาณต่างๆ เพราะผู้ให้บริการ W-LAN ทั้งหลายยังไม่ได้เตรียม
ตัวรับมือในด้านนี้ การเชื่อมต่ออาจจะถูกตัดขาดลง และจำเป็นจะต้องมีการ
สร้างการเชื่อมต่อ่ใหม่ขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ใช้จะได้รับ Internal IP ภายในระบบตัวใหม่
ส่วนในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ผู้ใช้อาจจะสูญเสียข้อมูลที่กำลังดาวน์โหลดไปหรืออาจ
จะต้องเริ่มการ Chat ใหม่ แต่ถึงจะมีอุปสรรคในเรื่องนี้ ก็ยังมีบริษัทอีกจำนวนมาก
ที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคนิค นี้ และกำลังทำการแก้ไขปัญหา Roaming นี้อยู่
ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการทดลองและต้องรอดูผลกันต่อไป
เอกสารอ้างอิง :www.med.cmu.ac.th

13. จงบอกข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสง
จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง
ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งประกอบด้วย
ความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง
เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้วขนเหล็ก มีการโค้งงอได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมาก
คือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป
เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์
ที่ความยาว 1 กิโลเมตร แล้วถ้าใช้ความยาวคลื่น 1300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า
500 นาโนเมตร ที่ความยาว 1 กิโลเมตร และถ้าลดความยาวเหลือ 100 เมตร จะใช้กับ
ความถี่สัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับ สัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์ ปกติแล้วเส้นใยนำแสงสามารถใช้ส่งข้อมูลเสียงได้พร้อม ๆ กัน ถึง 30,000 ช่องสัญญาณ และเนื่องจากอัตราการส่งข้อมูลสูงจึงเหมาะสำหรับใช้ส่งข้อมูลเสียง ภาพ และข้อมูลดิจิตอลจากคอมพิวเตอร์ไปพร้อม ๆ กันในระบบ ISDN
(Integrated Services Digital Network)
เปรียบเทียบความสามารถของเส้นใยนำแสงและสายทองแดง
1. เส้นใยนำแสง 1 สาย สามารถส่งข้อมูลได้เท่ากับคู่สายทองแดง 1,000 คู่
2. เส้นใยนำแสง 1 สาย สามารถส่งข้อมูลจากเทอร์มินัลคอมพิว้ตอร์ได้ถึง 6,000 เครื่ง
กำลังสูญเสียต่ำ
เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่า
ค่อนค่างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาว
ถึง 2000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2000 เมตร ต้องใช้รีพีตเตอร์ทุก ๆ 2000 เมตร
การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมี
ข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร
หากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถึ่มีผลต่อกำลังสูญเสีย
โดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ คุณสมบัติของสายตัว
นำทองแดงจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถึ่ของ
สัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดงสูงขึ้น อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้น
ใยแก้วนำแสงเราใช้สัญญาณความถี่มอดูเลตไปกับแสง การเปลี่ยนสัญญาณรับส่งข้อมูล
จึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้
ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาแบบทองแดงคือการเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ปัญหานี้มีมาก ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่าครอสทอร์ค การำม่แมตซ์
พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ การรบกวนจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า
EMI ปัญหเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงแล้วปัญหา
เรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะและไม่ถูกรบกวนของแสงจากภายนอก
น้ำหนักเบา
เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง
น้ำหนักของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไปมีน้ำหนักเพียงประมาณ
20 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของสายยูทีพีแบบแคต 5
ขนาดเล็ก
เส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้วเล็กกว่าลวดทองแดงมาก
ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสงเมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี
โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
ของเส้นลวดยูทีพีแบบแคต 5
มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า
การใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้แสงเดินทางในข่าย จึงยาก
ที่จะทำการแท๊ปหรือทำการตัดฟังข้อมูล
มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
การที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า
การลัดวงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น
สามารถติดตั้งและใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก ๆ ได้
เอกสารอ้างอิง : http://www.kairat.com/elearn/datacom/MODULE2/lesson3_3.html

14. ขนาดของ core และ cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด
ลักษณะของ Optical Fiber แบ่งตาม การเดินทางของคลื่นแสงใน Optical Fiber
1.Single Mode Fiber
Optical Fiber ชนิดนี้มีขนาดของ Core ที่เล็กมากเมื่อเทียบกับความคลื่นแสง
ที่ใช้ทำให้กระบวนการผลิต Optical Fiber นี้ยุ่งยาก และ ต้องใช้ความแม่นยำสูง
การที่ขนาด Core เล็กมากนั้นมีผลทำให้ แสงสามารถเดินทางไปใน Optical Fiber
ได้โดยใช้ทิศทางเดียวจึงเรียก เป็น Single Mode Optical Fiber
และ Mode เดียวที่เดินทางไปนั้น คือ Fundamental Mode
โดยทั่วไป ขนาดของ Core Diameter จะอยู่ในช่วง 8.3 - 8.7 mm.
และความยาวคลื่นแสง ที่ใช้อยู่ในช่วง 1.2 -1.6mm.
- Cutoff Wavelength
Single Mode Optical Fiber จะสามารถนำสัญญาณแสงที่อยู่ใน
Higher Order Mode ได้โดยมีข้อแม้ว่า Wavelength ของ Higher
Order Mode นั้นๆ ต้องมีขนาดเล็กกว่า Cut - off Wavelength (Ic)
ค่า Cut - off Wavelength ๅจะสามารถคำนวณได้จากค่าของ Core
Diameter และความแตกต่างของ Refractive Index ระหว่าง Clad
กับ Core โดยทั่วไป ค่าCutoff Wavelength อยู่ในช่วง 1200 nm.
2. Multimode Step Index Fiber
เป็น Optical Fiber ที่ได้รับคิดค้นในช่วงแรกๆ และเนื่องจากการที่ Optical
Fiber ชนิดนี้มี bandwidh แคบจึงเป็นเหตุให้ Optical Fiber
ชนิดนี้ไม่แพร่หลายในการใช้งานทางด้านสื่อสาร
คำว่า Mode สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเส้นทางการเดินของแสงที่ผ่านไปใน
Optical Fiber คือ เส้นทางของพลังงานแสงที่จะเคลื่อนที่ไปยังปลายทาง
จำนวนเส้นทางหรือ Mode สามารถคำนวณได้จากรัศมีของ Optic Fiber
ความยาวคลื่น และ Refrative Index ระหว่าง Clad และ Core
3. Multimode Graded Index
เป็น Optical Fiber ที่พัฒนาขึ้นจาก Multimode Step
Index ทำให้สามารถมีความจุข้อมูลใน การรับ- ส่งได้สูงขึ้น คือ
bandwidth กว้างขึ้น โดยในช่วง คศ. 1977-1983 Fiber
Optic นี้ จะใช้ภายในอาคาร แต่ปัจจุบัน fiber optic นี้ถูกใช้ในระบบ
LAN และเครือข่าย โทรศัพท์เล็กๆ เท่านั้น Optical Fiber นี้พัฒนา
โดยใช้ในเทคนิคของการเปลี่ยนแปลงของ Refractive Index คือ
ค่า Refractive Index จะค่อยๆ ลดลงในแกนของ Core และค่า
Refractive Index ตรงจุดต่อระหว่าง Clad และ Core จะมีค่า
Refractive ที่เท่ากัน ซึ่งต่างจาก Multimode Step Index
Fiber ที่ Clad และ Core จะมีค่า Refractive Index ที่คงที่ตลอดรัศมี
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของ Refractive Index จะเป็นลักษณะ
Parabolic ซึ่งกำหนดให้แต่ละ Mode ที่แสงเคลื่อนที่ไปนั้น หกเหไปมาใน
Optical Fiber และแต่ละจุดที่แสงเคลื่อนที่ผ่านไป ความเร็วก็จะเปลี่ยน
แปลงไปด้วย คือ แสงที่เดินทางใน Mode ที่ใกล้จุดศูนย์กลางของ Core
จะเคลื่อนที่ช้ากว่า Mode ที่เคลื่อนที่ ใกล้กับ Clad/Core Boundary
ถ้าพิจารณาแล้ว แสงที่มี Mode ใกล้ Core จะมีระยะเดินทางที่ใกล้กว่า
จากเหตุผลนี้ทำให้ แสงในแต่ละ Mode มีความ แตกต่างของเวลาในการ
เดินทางจากด้านส่งมายังด้านรับ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Delay
Time ลดลง และ Bandwidth ของ Optical Fiber กว้างมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง : www.tice.ac.th/.../electronic/Tan/N%204.htm

15.การเชื่อมต่อโดยวิธีการหลอมรวม (Fusion Splicing) ทำได้โดยวิธีใด
การเชื่อมต่อด้วยวิธีการหลอมรวม เป็นวิธีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสงสอง
เส้นด้วยการใช้ความร้อนปลายเส้นใยแก้ว จากนั้นปลายเส้นใยแก้วก็จะถูกดันมา
เชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อในลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวร เส้นใยแก้วนำ
แสงที่เชื่อมต่อกันแล้วดูเสมอว่าเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียที่เกิดจากการเชื่อม
ต่อด้วยวิธีนี้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.2 dB ในขั้นตอนของการเชื่อมต่อนั้น
ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้นใยแก้วนำแสงอ่อนตัวนั้น มาจากประกายไฟที่
เกิดจากการอาร์กระหว่างขั้วอิเล็กโหมดในการหลอมรวม
สำหรับการเชื่อมต่อแบบหลอมรวมแบบเดิมนั้น การปรับตำแหน่งการวางตัว
ของเส้นใยแก้วนำแสง 2 เส้น อาศัยวิธีการปรับฐานรองด้วยการสังเกตผ่าน
กล้องขยาย แต่ในปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางแสงมาช่วยในการจัดวางดังกล่าว
ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างอัตโมมัติ วิธีการนี้มีชื่อว่า "แอลไอดี
(Light Injection and Detection, LID)" โดยอาศัยหลัก
การตรวจวัดปริมาณแสงที่ได้จากเส้นใยแก้วนำแสงเส้นที่สองซึ่งส่งผ่านมา
จากเส้นใยแก้วเส้นที่ 1 ถ้าพบว่าการวางตัวของเส้นใยแก้วทั้งสองอยู่ในตำ
แหน่งที่เหมาะสมปริมาณแสงที่ตรวจวัดได้จะให้ค่ามากที่สุดพร้อมที่จะทำ
การหลอมรวม แสงที่ใช้ในการตรวจสอบมาจากการส่งผ่านแสงของแอลอีดี
เข้าไปในบริเวณที่เส้นใยแก้วถูกทำให้โค้ง โดยท่อทรงกระบอกซึ่งมีรัศมีเล็ก
(ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร)และการตรวจวัดแสงก็อาศัยอุปกรณ์รับแสง
ซึ่งวางชิดกับบริเวณที่ถูกทำให้โค้งของเส้นใยแก้วนำแสง วิธีการตรวจวัด
แสงดังกล่าว อาศัยคุณสมบัติของใยแก้วนำแสงเกี่ยวกับการโค้งงอของ
เส้นใยแก้วที่ทำให้เกิดการสูญเสียขึ้น
เอกสารอ้างอิง : http://www.cablethailand.com/
techsupport_detail2.asp?ccode=0521102452253