วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ชุดแก้ไข เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2008 ครับ

การสื่อสารข้อมูลหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร
อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพข้อมูล และเสียงเป็นต้นclassหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่างๆหรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้น ต้องมีตัวกรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น class
ชนิดของสัญญาณ ในการส่งข้อมูลเพื่อทำการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องแปลงข้อมูลที่ต้องการให้อยู่ในรูปแบบ “สัญญาณ (Signal)” เพื่อให้สามารถส่งไปในตัวกลางที่เป็นช่องทางการสื่อสารได้ โดยสามารถแบ่งสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารได้เป็น 2 ชนิดคือ
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น ที่มีความต่อเนื่องกัน มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น – ลงตามขนาดของสัญญาณ และมีความถี่ ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า “สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” คือ สัญญาณที่มีระดับของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วยตัวเลข 0
การส่งสัญญาณข้อมูลการส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ส่งก็ได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
โปรโตคอล (Protocol)
คือ ระเบียบวิธีการ กฏ และข้อกำหนดต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงมาตรฐานที่ใช้เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One – way หรือ Simplex) คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจ่ายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดเวลาการทำงาน
4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
2) ความถูกต้องของข้อมูล
3) ความเร็วของการทำงาน
4) ต้นทุนประหยัด
Address คืออะไร การแบ่งขนาดของเครือข่าย เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233) เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address หมายเลขต้องห้าม เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
1. Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
2. Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
3. Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน ได้แก่
1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง
2. 0.0.0.0
แปลง IP –209.123.226.168
11010001.01111011.11100010.10101000
Class C
–198.60.70.81 11000110.00111100.01000110.01010001
Class C
•CIDR -บอกหมายเลข Subnet Mask -บอกจำนวน Host CIDR ที่ให้คือ /22
11111111.11111111.11111100.00000000
/22 (128+64+32+16+8+4)= 252
Subnet Mask = 255.255.252.0
Host = 2^10 = 1024 -2 = 1022 Host /18
11111111.11111111.11000000.00000000
/18(128+64)= 192
Subnet Mask= 255.255.192.0 Host = 2^14 = 16576 – 2 = 16574 Host /27
11111111.11111111.11111111.11100000
/27 (128+64+32)= 224
Subnet Mask= 255.255.255.224 Host= 2^5 = 32-2 = 30 Host ข้อสอบ ID ADDRESS 5 ข้อ
1. หมายเลขที่ใช้กำหนดให้กับ คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์เน็ตเวิร์คหมายถึงข้อใด
ก. Id addraes ข. Id address * ค. Id addrass
2. IP Address คลาส A จะมี Network Address ได้จำนวน กี่ Address
ก. 126 Address* ข.127 Address ค.128 Address
3. IP Address แบ่งออกเป็นกี่ระดับ
ก. 3 ระดับ ข4.ระดับ ค. 5 ระดับ *
4. IP Address จะอยู่ในชั้นที่เท่าใด ของ OSI 7 Layers หรือชั้นที่เรียกว่า Network Layer.
ก. 1 Layer ข. 2 Layer ค. 3 Layer *
5. Address จริงๆแล้วจะเขียนอยู่ในรูปของเลขฐานสองกี่บิต
ก. 16 บิต ข. 32 บิต * ค. 64 บิต
ข้อสอบเรื่อง CIDR 5 ข้อ
1. 22 บอกหมายเลข Subnet Mask
ก.255.255.252.0 *
ข. 255.255.253.0
ค. 255.255.254.0
2. /18บอกจำนวน Host
ก. 30 Host *
ข. 31 Host
ค. 32 Host
3. 27บอกหมายเลข Subnet Mask
ก.255.255.255.222
ข. 255.255.255.223
ค. 255.255.255.224*
4. 20บอกจำนวน Host
ก. 4094 Host * ข.4084 Host ค. 4074 Host
5. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการแปลงเลขฐาน 2 ของ CIDR /27
ก. 11111111.11111111.11111111.11100000 *
ข. 11111111.11111111.11111111.11100000
ค. 11111111.11111111.11111111.10000000
หมายเหตุ เครื่องหมาย * อยู่หลังข้อนั้นถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: